วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สื่อและนวัตกรรม

                                                                 ความหมายของนวัตกรรม

             นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของนวัตกรรม ( วัชรพล  วิบูลยศริน.2556 : 10 ) 
             กล่าวไว้ว่า

         1. กระบวนการที่นำเอาความคิดหรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ  มาแปรเปลี่ยนเป็นสินค้าและ
บริการสำหรับให้ผู้บริโภคจับจ่ายหรือบางสิ่งบางอย่างที่เป็นผลของกระบวนการนี้
         2. แนวคิด  การปฏิบัติ    หรือวัตถุใดก็ตามที่แต่ละคนรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่  โดยใช้ความคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง   ถ้าบุคคลนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งใหม่ก็นับได้ว่าเป็นนวัตกรรม
         3.  การนำเอาเทคนิควิธีการใหม่ๆ   มาปฏิบัติภายหลังจากการคิดค้นและพัฒนาผ่านมาเป็นลำดับแล้ว  แตกต่างไปจากการปฏิบัติแบบเดิม
         4.  การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่นำไปสู่การปฏิบัติแนวใหม่  โดยตั้งใจและวางแผนการนำเอาวิธีการใหม่นี้เข้าสู่ระบบ ( วัฒนา   ปุญญฤทธิ์ และอัญชลี   ไสยวรรณ. 2549 )
         5. สิ่งใหม่ที่ทำขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ
              (   ทิศนา   แขมมณี. 2551 )
         6.  แนวความคิด    การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่ให้ทันสมัยและได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นกว่าเดิม  ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย
( กิดานันท์    มลิทอง. 2543 )
          7. นวัตกรรมเป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า  Innovation  แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเมื่อพิ
จารณาความหมาย  คำว่า นวัตกรรม  หมายถึง     การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำ
อยู่เดิมเพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  ( บุญเกื้อ   ควรหาเวช. 2542 )

          ประเภทของนวัตกรรม
1. ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม  เช่น บทบาทสมมุติ  การสอนเป็นคณะ  การสอนแบบศูนย์
การเรียน  การเรียนเพื่อการรอบรู้  การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง  การเรียนตามความสามารถ  การศึกษาเป็นราย
บุคคล  รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม  การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีสอนอุปนัยและนิรนัย เป็นต้น
2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน  เช่น บทเรียนสำเร็จรูป  ชุดการสอน  ชุดสื่อประสม
บทเรียนโมดูล  วิดีทัศน์  สไลด์ประกอบเสียง  แผ่นโปร่งใส  เกม  เพลง  ใบงาน  บทเรียนที่ใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

           การนำไปใช้ประโยชน์
1.  การใช้ให้สอดคล้องกับความสนใจและธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัยเช่น เกม  หรือ เพลง
เหมาะสำหรับ นักเรียนชั้นประถมต้น
2.  นำมาเป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับเทคนิควิธี กิจกรรม  หรือสื่อการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์ 


          สรุปได้ว่า  นวัตกรรมคือแนวคิด  วิธีปฏิบัติ   หรือสิ่งใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายหรือยังไม่เคยใช้มาก่อน
และเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม  โดยผ่านการคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่หรือพัฒนา
จากของเดิมที่มีอยู่ให้ทันสมัย  และปรับปรุงจนใช้ได้ผลดีปและมีประสิทธิภาพ


                                                               ความหมายของสื่อการสอน

             นักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านได้นิยามความหมายของคำว่าสื่อการเรียนการสอนสรุปได้
ดังนี้
              1.  ช่องทางการสื่อสารด้านข้อมูลและสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้
และเป็นสื่อที่นำพาสารหรือข้อความที่มีจุดประสงค์ทางการเรียนการสอนไปสู่ผู้เรียน ( Molenda.1996 )
              2.  อุปกรณ์การสอนที่ช่วยในการถ่ายทอดความหมาย   โดยไม่ต้องอาศัยคำพูดหรือภาษาในการสื่อสารความหมาย ( Erickson  &  Smaldino. 1996 )
              3.   วัสดุ   อุปกรณ์  และวิธีการซึ่งถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อนเป็นตัวกลางในการนำส่ง
หรือถ่ายทอดความรู้   ทักษะ   และเจตคติ   จากผู้สอนหรือแหล่งเรียนรู้ยังผู้เรียนช่วยในการเรียนการสอน
ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ   และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่
ตั้งไว้  (  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2552 )
              4.  ตัวกลางสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของผู้สอนไปสู่ตัวผู้เรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้ ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  สื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง  นักการศึกษาใช้คำเรียกสื่อการเรียนการสอน
อย่างหลากหลาย  เช่น  อุปกรณ์การสอน    โสตทัศนูปกรณ์   เทคโนโลยีการศึกษา  สื่อการเรียนรู้  สื่อการศึกษา  ( พิมพ์พร   แก้วเครือ. 2544 )
               5. สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง  สไลด์  วิทยุ   โทรทัศน์    วีดีโอ   แผนภูมิ
ภาพนิ่ง ฯลฯ  ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน  สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ใทคโนโลยีการศึกษา  เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี
 ( กิดานันท์   มลิทอง. 2543 )
          
            สรุปได้ว่า  สื่อการเรียนการสอน  หมายถึง  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือหรืสื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ



                                  นวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ( mathematics   learning   innovation )

 หมายถึง สื่อการเรียนรู้    แนวความคิด  วิธีการ การปฏิบัติ  หรือสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆทียังไม่เคยใช้มาก่อน เมื่อนำใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แล้วคาดว่าจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมการเรียนรู้ครอบคลุมถึงการพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่เดิมให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น                    ( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2554 )
                       
                                   การนำนวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน

การสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์  เป็นเครื่องอำนวยความสะดวก  โดยครูเป็นผู้ออกแบบ โจทย์และสร้าง
สรรค์  บทเรียนให้มีความหน้าสนใจให้มากขึ้น

ขั้นนำ       ครูใช้สื่อคอมพิวเตอร์สร้างบรรยากาศให้บทเรียนมีความน่าสนใจ โดยใช้ โปรแกรม  CAI
โดยนำรูปภาพ   ภาพการ์ตูน   ภาพเคลื่อนไหว มาสร้างความสนใจให้กับนักเรียน

ขั้นสอน     ครูนำนักเรียนทำโจทย์ปัญหาในโปรแกรม   ให้นักเรียนเลือกคำตอบจากโจทย์ในโปรแกรม
CAI  ด้วยตัวนักเรียนเอง

ขั้นสรุป      นักเรียน ตรวจคำตอบด้วยตัวนักเรียนเอง ครูช่วยแนะนำในคำตอบที่นักเรียนตอบผิด

 ตัวอย่าง รูปแบบ โปรแกรม  CAI   ที่ครูได้ออกแบบสร้างขึ้นในวิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ

                                                                                           
      


                    นักเรียนมีความสุขในการทำโจทย์ปัญหา และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น
                                                                                 
                                                                                    

                                                                             




                                                                                       
                     




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น