การคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ความหมายของการคิดแก้ปัญหา หมายถึงการนำประสบการณ์เดิมที่เกิดจากการเรียนรู้มาเป็นพื้นฐานการแก้ปัญหาในสถานการณ์หรือปัญหาใหม่โดยมีขั้นตอน หรือกระบวนการในการแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายหรือเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้
( วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และ สุคนธ์ , พรรณี สินธพานนท์ . 2551 : 104 )
( วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และ สุคนธ์ , พรรณี สินธพานนท์ . 2551 : 104 )
เพียเจต์ ( Piaget. 1962 : 120 ) ได้กล่าวถึงความสามารถในการคิดแก้ปัญหาตามทฤษฏีด้านการพัฒนา เป็นความสามารถของเด็กที่มีการพัฒนาตั้งแต่ขั้นที่ 3 ขึ้นไป ขั้นที่ 1และ2 เริ่มตั้งแต่แรกเกิด
ถึง 1 - 6 ปี นักเรียนยังไม่พร้อมในการคิดแก้ปัญหาในกรณีที่เป็นโจทย์ปัญหา ขั้นที่ 3 นักเรียนมี อายุ 7 - 10 ปี นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโจทย์แบบไม่ซับซ้อนมากได้ ขั้นที่ 4 นักเรียนมีอายุ 11 - 15 ปี จะมีการพัฒนาในขั้นที่ 4 นักเรียนจะมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลดีขึ้น สามารถคิดแก้ปัญหาแบบ ซับซ้อนได้ ในส่วนของ โพลย่า ได้อธิบายความการคิดแก้ปัญหาและสร้างความเข้าใจในการแก้ปัญหาได้ดังนี้
ถึง 1 - 6 ปี นักเรียนยังไม่พร้อมในการคิดแก้ปัญหาในกรณีที่เป็นโจทย์ปัญหา ขั้นที่ 3 นักเรียนมี อายุ 7 - 10 ปี นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโจทย์แบบไม่ซับซ้อนมากได้ ขั้นที่ 4 นักเรียนมีอายุ 11 - 15 ปี จะมีการพัฒนาในขั้นที่ 4 นักเรียนจะมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลดีขึ้น สามารถคิดแก้ปัญหาแบบ ซับซ้อนได้ ในส่วนของ โพลย่า ได้อธิบายความการคิดแก้ปัญหาและสร้างความเข้าใจในการแก้ปัญหาได้ดังนี้
โพลยา ( Polya. 1957 : 6-22 ) ได้เสนอขั้นตอนของการคิดแก้ปัญหา ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา พยายามเข้าใจในสัญลักษณ์ต่างๆในปัญหา สรุป วิเคราะห์ แปลความ
ทำความเข้าใจว่าโจทย์ถามอะไร โจทย์ให้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลมีเพียงพอหรือไม่
ขั้นที่ 2 การแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อสะดวกในการลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหา และวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 การลงมือทำตามแผน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 การตรวจสอบวิธีและคำตอบ เพื่อให้แน่ใจว่าแก้ปัญหาถูกต้อง
กาเย่ ( Gagne. 1970 : 62 ) กล่าวไว้ว่าการคิดแก้ปัญหาเป็นรูปแบบการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ประเภทหลักการที่มีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่สองประเภทขึ้นไปใช้หลัการมาผสผสานกันจนเป็นความสามารถชนิดใหม่ เรียกว่า ความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหา
ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา พยายามเข้าใจในสัญลักษณ์ต่างๆในปัญหา สรุป วิเคราะห์ แปลความ
ทำความเข้าใจว่าโจทย์ถามอะไร โจทย์ให้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลมีเพียงพอหรือไม่
ขั้นที่ 2 การแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อสะดวกในการลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหา และวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 การลงมือทำตามแผน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 การตรวจสอบวิธีและคำตอบ เพื่อให้แน่ใจว่าแก้ปัญหาถูกต้อง
กาเย่ ( Gagne. 1970 : 62 ) กล่าวไว้ว่าการคิดแก้ปัญหาเป็นรูปแบบการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ประเภทหลักการที่มีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่สองประเภทขึ้นไปใช้หลัการมาผสผสานกันจนเป็นความสามารถชนิดใหม่ เรียกว่า ความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหา
( วันดี เกษมสุขพิพัฒน์. 2554 : 51 ) กระบวนการคิดแก้ปัญหาต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกถึงทักษะการคิดและกระบวนการต่างๆ โดยเฉพาะในการหาคำตอบนักเรียนต้องใช้เหตุและผลประกอบ ตลอดจนเชื่อมโยงคความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องอื่นๆเข้าด้วยกัน
โดยสรุป การคิดแก้ปัญหา คือ กระบวนการในการแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยจะมีพัฒนาการมากขึ้นตามอายุและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
ใช้โปรแกรม CAI ช่วยในการคิดแก้ปัญหา จากการกล่าวไว้ข้างต้น ได้ดังนี้
การคิดแก้ปัญหา ตามหลักการของโพลย่า ขั้นที่ 1 ให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจในปัญหา โดยครูได้ใส่รูปภาพ เชื่อมโยงโจทย์ปัยหาเข้าไปในโปรแกรมคำถาม จะทำให้นักเรียนได้สรุป แปลความหมายได้ง่ายและมีความพึงพอใจในการทำโจทย์ปัญหาข้อต่อๆไป
ขั้นที่ 2 นักเรียนจะทำการแยกแยะปัญหา โดย ดูจากสรุป และแปลความจากข้อที่ 1 ตามโปรแกรม CAI
ขั้นที่ 3 ลงมือแก้ไขปัญหา ตอจากข้อ 2 ทำให้นักเรียน มั่นใจมากขึ้น ในการคิดแก้ปัญหาเมื่อ
ได้ลงมือแก้ไขตามโปรแกรม CAI
ขั้นที่ 4 เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้ว สามารถตรวจคำตอบได้เอง จากการใช้คำสั่งของโปรแกรม CAI เพื่อให้นักเรียนมั่นใจว่าตนเองได้แก้ปัญหาได้ถูกต้องโดยที่ไม่ต้องรอฟังเฉยจากครู
ใช้โปรแกรม CAI ช่วยในการคิดแก้ปัญหา จากการกล่าวไว้ข้างต้น ได้ดังนี้
การคิดแก้ปัญหา ตามหลักการของโพลย่า ขั้นที่ 1 ให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจในปัญหา โดยครูได้ใส่รูปภาพ เชื่อมโยงโจทย์ปัยหาเข้าไปในโปรแกรมคำถาม จะทำให้นักเรียนได้สรุป แปลความหมายได้ง่ายและมีความพึงพอใจในการทำโจทย์ปัญหาข้อต่อๆไป
ขั้นที่ 2 นักเรียนจะทำการแยกแยะปัญหา โดย ดูจากสรุป และแปลความจากข้อที่ 1 ตามโปรแกรม CAI
ขั้นที่ 3 ลงมือแก้ไขปัญหา ตอจากข้อ 2 ทำให้นักเรียน มั่นใจมากขึ้น ในการคิดแก้ปัญหาเมื่อ
ได้ลงมือแก้ไขตามโปรแกรม CAI
ขั้นที่ 4 เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้ว สามารถตรวจคำตอบได้เอง จากการใช้คำสั่งของโปรแกรม CAI เพื่อให้นักเรียนมั่นใจว่าตนเองได้แก้ปัญหาได้ถูกต้องโดยที่ไม่ต้องรอฟังเฉยจากครู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น